
ปฏิกิริยาเคมี
คือ ขบวนการที่สารตั้งต้นเปลี่ยนไปเป็นผลิตภัณฑ์ ในระหว่างการเกิดปฏิกิริยาเคมี ปริมาณของสารตั้งต้นย่อมลดลง ยิ่งเวลาผ่านไป ปริมาณของสารตั้งต้นก็จะยิ่งเหลือน้อยลง และปริมาณของผลิตภัณฑ์ก็จะเพิ่มมากขึ้น
ปฏิกิริยาเคมี มี 2 ประเภท คือ
1. ปฏิกิริยาคายพลังงาน (Exergonic reaction) หมายถึง ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแล้วจะปล่อยพลังงานออกมามากกว่า พลังงานกระตุ้นที่ใส่เข้าไป
2. ปฏิกิริยาดูดพลังงาน (Endergonic reaction) หมายถึง ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแล้วจะปล่อยพลังงานออกมาน้อยกว่า พลังงานกระตุ้นที่ใส่เข้าไป

ทฤษฎีที่อธิบายเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีCollision theory ( ทฤษฎี การชนกัน) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ปฏิกิริยาเกิดจากโมเลกุลของก๊าซวิ่งชนกัน และมีการถ่ายเทพลังงานให้กันละกัน โมเลกุลที่ไปชนโมเลกุลอื่นจะมีพลังงานต่ำลง ส่วนโมเลกุลที่ถูกชนจะมีพลังงานสูงขึ้นโมเลกุลที่เกิดปฏิกิริยา ได้ขึ้นอยู่กับ1. โมเลกุลวิ่งชนกันแล้วมีพลังงานสูงอย่างน้อยเท่ากับค่า Ea (พลังงานกระตุ้น หรือพลังงานก่อกัมมันต์) 2. ทิศทางการชนกัน ต้องชนกันในทิศทางที่เหมาะสม จึงจะเกิดปฏิกิริยา
ปัจจัยที่มีผลต่อปฏิกิริยาเคมี
1. ธรรมชาติของสารตั้งต้น : สารตั้งต้นบางชนิดทำปฏิกิริยาได้เร็วแต่บางชนิดทำปฏิกิริยาได้ช้า เช่น แผ่นโลหะทองแดง หรือแผ่นโลหะเงินจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนได้ช้ามาก แม้ว่าจะใช้เปลวไฟช่วยก็ไม่สามารถทำให้ปฏิกิริยาเกิดเร็วได้ ส่วนแผ่นโลหะแมกนีเซียมสามารถติดไฟได้เร็วมาก หรือฟอสฟอรัสขาวสามารถติดไฟได้เลยในอากาศ เป็นต้น
2. ความเข้มข้นของสารตั้งต้น :สารที่มีความเข้มข้นมากจะเกิดปฏิกิริยาได้เร็วกว่าสารที่มีความเข้มข้นน้อย การเพิ่มปริมาตรโดยมีความเข้มข้นเท่าเดิมการเกิดปฏิกิริยาก็ยังคเท่าเดิม
3. พื้นที่ผิวของสารตั้งตัน : การเพิ่มพื้นที่ผิวจะทำให้ปฏิกิริยาเกิดขึ้นได้เร็ว แต่จะมีผลต่อปฏิกิริยาเนื้อผสมเท่านั้นการเพิ่ม พ.ท. ผิวก็คือการเพิ่มความถี่ในการชนกันนั้นเอง
4. อุณหภูมิ : การเพิ่ม อุณหภูมิ เป็นการเพิ่มพลังงานจลน์ให้แก่อนุภาค ทำให้อนุภาคเคลื่อนที่เร็วขึ้น จึงเพิ่มโอกาสการชนกัน
5. ตัวเร่ง และตัวหน่วง ปฏิกิริยา มันจะไปลด / เพิ่ม Eaของปฏิกิริยา :ตัวเร่งปฏิกิริยา(catalyst)เป็นสารที่ช่วยเร่งให้ปฏิกิริยาเกิดได้เร็วขึ้น ตัวหน่วงปฏิกิริยา(Inhibitor)เป็นสารที่เมื่อเติมลงไปในปฏิกิริยาแล้วมีผลทำให้ เกิดปฏิกิริยาได้ช้าลง หรือหยุดยั้งปฏิกิริยาได้อย่างสิ้นเชิง
...................................................
คำถาม
1. ปฏิกิริยาการรวมตัวเป็นปฏิกิริยาเคมีที่รวมสารตั้งต้น 2 ตัว มีการสร้างพันธะได้สารประกอบขึ้นมาขบวนการของสารที่มีการจัดเรียงอะตอมของสารโดยมีการสลายพันธะและ/หรือการสร้างพันธะใหม่
ทำให้ได้ผลผลิตใหม่ที่มีคุณสมบัติทางเคมีแตกต่างจากสารเดิม เราเรียกว่า
ทำให้ได้ผลผลิตใหม่ที่มีคุณสมบัติทางเคมีแตกต่างจากสารเดิม เราเรียกว่า
ก. การสังเคราะห์ ข. การสลายทางเคมี ค. ไอออนไนซ์เซชัน ง. ปฏิกิริยาเคมี.
2. ปฏิกิริยาการรวมตัวเป็นปฏิกิริยาเคมีที่รวมสารตั้งต้น 2 ตัว มีการสร้างพันธะได้สารประกอบขึ้นมาเป็นปฏิกิริยาแบบใด?
ก. ปฏิกิริยาการสลายตัว ข. ปฏิกิริยาการรวมตัว.
ค. ปฏิกิริยาแทนที่ 2 ครั้ง ง. ปฏิกิริยาการแทนที่
ก. ปฏิกิริยาการสลายตัว ข. ปฏิกิริยาการรวมตัว.
ค. ปฏิกิริยาแทนที่ 2 ครั้ง ง. ปฏิกิริยาการแทนที่
3. ปฏิกิริยาการแทนที่เป็นปฏิกิริยาเคมีที่มีสารตั้งต้น 2 ตัว ตัวที่เป็นธาตุจะเข้าแทนที่ธาตุหนึ่งในสารตั้งต้นที่เป็นสารประกอบเรียก เราปฏิกิริยาว่าอะไร?
ก. ปฏิกิริยาการสลายตัว ข. ปฏิกิริยาการรวมตัว
ค. ปฏิกิริยาแทนที่ 2 ครั้ง ง. ปฏิกิริยาการแทนที่.
ก. ปฏิกิริยาการสลายตัว ข. ปฏิกิริยาการรวมตัว
ค. ปฏิกิริยาแทนที่ 2 ครั้ง ง. ปฏิกิริยาการแทนที่.
4. ปฏิกิริยาที่มีสารประกอบ 2 ตัวมาทำปฏิกิริยากันในอะตอมหรือกลุ่มของอะตอมจากสารประกอบหนึ่งแลกเปลี่ยนกับอะตอมหรือกลุ่มของอะตอมของสารประกอบอีกตัวหนึ่ง เราปฏิกิริยาว่าอะไร?
ก. ปฏิกิริยาการสลายตัว ข. ปฏิกิริยาการรวมตัว
ค. ปฏิกิริยาแทนที่ 2 ครั้ง. ง. ปฏิกิริยาการแทนที่
ก. ปฏิกิริยาการสลายตัว ข. ปฏิกิริยาการรวมตัว
ค. ปฏิกิริยาแทนที่ 2 ครั้ง. ง. ปฏิกิริยาการแทนที่
5. การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารตั้งต้น หรือผลิตภัณฑ์ในหนึ่งหน่วยเวลา หมายถึงอะไร?
ก. อัตราของปฏิกิริยาเคมี. ข. ความเร็วของปฏิกิริยาเคมี
ค. ตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี ง. เวลาในการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ก. อัตราของปฏิกิริยาเคมี. ข. ความเร็วของปฏิกิริยาเคมี
ค. ตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี ง. เวลาในการเกิดปฏิกิริยาเคมี
6. สารซึ่งทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้นโดยตัวเองไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีอย่างถาวรใน ปฏิกิริยา เมื่อปฏิกิริยาสิ้นสุดลงแล้วจะได้ตัวเร่งกลับคืนมา สารที่ว่านี้คืออะไร?
ก. Glucose ข. Protein ค. Lipid ง. Catalyst.
ก. Glucose ข. Protein ค. Lipid ง. Catalyst.
7. ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดจากเปลี่ยนปฏิกิริยาเคมีเป็นพลังงานความร้อน สังเกตจากการสัมผัสภาชนะด้านนอกจะรู้สึกอุ่นหรือร้อนขึ้นถือว่าเป็น
ก. ปฏิกิริยาเคมีไม่มีความร้อน ข. ปฏิกิริยาเคมีมีความร้อน
ค. ปฏิกิริยาเคมีคายความร้อน. ง. ปฏิกิริยาเคมีดูดความร้อน
ก. ปฏิกิริยาเคมีไม่มีความร้อน ข. ปฏิกิริยาเคมีมีความร้อน
ค. ปฏิกิริยาเคมีคายความร้อน. ง. ปฏิกิริยาเคมีดูดความร้อน
8. ปฏิกิริยาเคมีที่ต้องการความร้อนเข้ามาช่วยในการเกิดปฏิกิริยาจะดูดความร้อนจากสิ่งแวดล้อม
ทำให้อุณหภูมิลดลง เป็นปฏิกิริยาเคมีชนิดใด?
ก. ปฏิกิริยาเคมีไม่มีความร้อน ข. ปฏิกิริยาเคมีมีความร้อน
ค. ปฏิกิริยาเคมีคายความร้อน ง. ปฏิกิริยาเคมีดูดความร้อน.
ทำให้อุณหภูมิลดลง เป็นปฏิกิริยาเคมีชนิดใด?
ก. ปฏิกิริยาเคมีไม่มีความร้อน ข. ปฏิกิริยาเคมีมีความร้อน
ค. ปฏิกิริยาเคมีคายความร้อน ง. ปฏิกิริยาเคมีดูดความร้อน.